บทชัยมงคลคาถา (พาหุง มหากาฯ)

คาถาพาหุง (ถวายพรพระ)

 

      1. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง,

ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง 

ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท, 

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

 

      2. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง, 

โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง

ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท, 

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

 

      3. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง,

ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง

เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

 

      4. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง,

ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง  

อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท, 

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ  

 

      5. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา,

จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ 

สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

 

      6. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง, 

วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง 

ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท, 

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

 

      7. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง, 

ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต 

อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท, 

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ 

 

      8. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง, 

พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง 

ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท, 

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

 

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา

โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที 

 

หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ

โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ

 

ชยปริตร (มหากาฯ)

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ

สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี

สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง

นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ

ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก

สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก

สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต

ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง

สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต

จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ ปะทักขิณัง

กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง

ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต

ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ

ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา

สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา

สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา

สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

 

 

คำแปลพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา)

 

คำแปล  มีอยู่ 8 บท และมีความมุ่งหมายแตกต่างกันทั้งแปดบท กล่าวคือ 

บทที่ 1 สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ 
บทที่ 2 สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์ 
บทที่ 3 สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่อสู้ 
บทที่ 4 สำหรับเอาชนะโจร 
บทที่ 5 สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ 
บทที่ 6 สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ 
บทที่ 7 สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย 
บทที่ 8 สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน 
 

      บทสวดพาหุงฯ ที่เราหลายๆคนท่องได้แล้ว และบางคนกำลังหัดท่อง ชื่อเต็มๆมีชื่อว่า "ชัยมงคลคาถา" เป็นบทสวดมนต์ที่เรียงเรียงขึ้นถึงเหตุการณ์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราได้ชนะพญามารในช่วงต่างๆ ถึง 8 เหตุการณ์ ตั้งแต่วันตรัสรู้ธรรม จนถึงเหตุการณ์ผกาพรหม เป็นต้น ซึ่งตามตำนานนั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชของเราทรงสวดบทนี้ทุกครั้งเพื่อใช้ในการปกครองบ้านเมืองและทำราชการสงคราม เพื่อให้มีชัยเหนืออริราชศัตรู อย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเอาชัยชนะเหนือพญามารผู้ใจบาปได้

 

ในบทที่ 1 เป็นเหตุการณ์ช่วงผจญมาร ซึ่งมีเรื่องว่าในวันตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระยามารยกพลเสนามารใหญ่หลวงมา  พระยามารผู้นิรมิตแขนได้ตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างชื่อ ครีเมข พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องมา แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สามารถเอาชนะพญามารได้ด้วยการระลึกถึงบารมีทั้ง 30 ทัศ ที่ทรงเคยลำเพ็ญมาในอดีต 

 

ในบทที่ 2 เรื่องเล่าว่า มียักษ์ตนหนึ่ง ชื่ออาฬะวกะ เป็นผู้มีจิตกระด้างและมีกำลังยิ่งกว่าเทวดาทั้งปวง อาฬะวกะยักษ์ผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความยับยั้ง พยายามเข้ามาประทุษร้ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ตลอดรุ่ง แต่พระองค์ก็สามารถปราบทิฏฐิของยักษ์ตนนี้ลงได้

 

ในบทที่ 3 มีเรื่องว่าเมื่อพระเทวทัตทรยศต่อพระพุทธเจ้า ได้จัดการให้คนปล่อยช้างสาร ที่กำลังตกมันชื่อนาฬาคีรี เป็นช้างเมามัน โหดร้ายเหมือนไฟไหม้ป่า มีกำลังเหมือนจักราวุธ เพื่อมาทำร้ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เมื่อช้างมาถึง ด้วยพระบริสุทธิคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทำให้ช้างนาฬาคีรี ได้สติและทำความเคารพต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

ในบทที่ 4 เป็นเรื่องขององคุลีมาลซึ่งพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี ท่านเทศน์เอาไว้ใน 69 กัณฑ์ อย่างที่เรารู้กันแพร่หลาย คือ องคุลีมาลนั้นอาจารย์บอกไว้ว่า ถ้าฆ่าคนและตัดนิ้วมือมาร้อยเป็นสร้อยคอ ให้ได้ครบพัน ก็จะมีฤทธิ์เดชยิ่งใหญ่ องคุลีมาลฆ่าคนและตัดนิ้วมือได้ 999 เหลืออีกนิ้วเดียวจะครบพัน ก็มาพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ก็ทรงสามารถทรมานทิฏฐิองคุลีมาลเลิกเป็นโจร ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้อมตะวาจาเกิดขึ้น คือ "เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด" และองคุลีมารโจรก็ได้ออกบวชเป็นพระอรหันต์ในที่สุด 

 

ในบทที่ 5 หญิงคนหนึ่งมีนามว่า จิญจมาณวิกา ใส่ร้ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยการวางแผนให้ผู้คนเข้าใจผิด โดยในเวลาเย็นที่ชาวบ้านเดินออกจากวัดเชตวัน นางจืญจมาณวิกา ก็จะเดินเข้าวัดไป และในช่วงเช้าที่ชาวบ้านเข้าวัด ก็จะทำทีเป็นเดินสวนทางออกมา จนระยะเวลาผ่านไปไลานเดือน จึงเอาไม้กลมๆ ใส่เข้าที่ท้องแล้วก็ไปเที่ยวปล่อยข่าวให้เล่าลือว่าตั้งครรภ์กับพระสัมมาสัมพุทธพุทธเจ้า ซึ่งก็ทรงเอาชนะด้วยวิธีสงบ ระงับพระทัยในท่ามกลางหมู่คน ให้ความจริงปรากฏแก่คนทั้งหลายว่าเป็นเรื่องกล่าวร้ายใส่โทษพระองค์โดยแท้ 

 

ในบทที่ 6 เป็นเรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเอาชนะสัจจะกะนิครนถ์ ผู้มีนิสัยละทิ้งความสัตย์ใฝ่ใจจะยกย่องถ้อยคำของตนให้สูงประหนึ่งว่ายกธงเป็นผู้มืดมัวเมา เป็นคนเจ้าโวหาร เข้ามาโต้ตอบกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์จีงตรัสเทศนาสั่งสอนสัจจะกะนิครนถ์ดังกล่าว

 

ในบทที่ 7 เป็นเรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โปรดให้พระมหาโมคคัลลานะ อัครมหาสาวกไปต่อสู้เอาชนะพญานาคชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีฤทธิ์มาก และมีเล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้มากมาย ซึ่งพระมหาโมคคัลลานะก็ได้ใช้ฤทธิ์เนรมิตกายเป็นพญานาค ไปปราบนนันโทปนันทะนาคราช ผู้มีฤทธิ์มากให้พ่ายแพ้ไป

 

ในบทที่ 8 เป็นเรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ผกาพรหม ผู้มีทิฏฐิแรงกล้าสำคัญว่าตนเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยคุณอันบริสุทธิ์  รู้แจ้งโลก โดยผลัดกันซ่อนผลัดกันหา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแปลงกายให้เล็กเท่าธุลีแล้วเดินจงกรมอยู่บนมวยผมของผกาพรหม ในที่สุดเมื่อผกาพรหมหาไม่พบจึงได้ยอมลดทิฏฐิมานะ และฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

        บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพรุพุทธชัยมงคล 8 คาถาเหล่านี้ทุกๆ วัน บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ และเข้าถึงความหลุดพ้น คือ พระนิพพานอันบรมสุข นั้นแลฯ 

  

*************************************************************

 

คำแปล มหาการุณิโก 

 

      สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

      ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ

       ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

      ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

      ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

 

Visitors: 239,088