มงคลชีวิต 38 ประการ

มงคลแห่งชีวิต

หลักปฏิบัติ 38 ประการเพื่อความสุขของชีวิต

 

มงคลชีวิต 38 ประการเป็นหลักธรรมที่เมื่อได้ปฎิบัติแล้วจะนำมาซึ่งความสุขความสงบความเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรมเป็นหลักปฎิบัติที่ทำได้จริงและส่งผลทันทีเหมาะที่บุคคลทั่วไปจะนำไปพิจารณาและปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นบทความที่เรียบเรียงนี้เป็นการสรุปย่อความหมายของแต่ละหัวข้อเพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและการนำไปใช้หากท่านรู้สึกสนใจหัวข้อไหนเป็นพิเศษขอให้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากผู้รู้หรือบทความอื่นๆควบคู่ไปด้วยก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป

 

1. ไม่คบคนพาล

คนพาลคือคนที่มีทัศนคติต่อสิ่งรอบตัวในทางที่ผิดทำให้ไม่สามารถควบคุมจิตใจให้คิดในทางที่ถูกต้องได้สิ่งที่คิดพูดและทำจึงมีแต่เรื่องที่ผิดไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรทั้งกับตัวเองและสังคมรอบข้างซ้ำร้ายยังสร้างปัญหานานับประการอีกด้วยการไม่คบคนพาลจึงเปรียบเหมือนการตัดไฟแต่ต้นลมไม่ให้ตัวเองต้องเสี่ยงติดนิสัยพาลไปด้วย 

 

2. คบบัณฑิต

บัณฑิตคือผู้ที่รู้จักวางใจของตนให้ตั้งอยู่ในทางที่ถูกต้องคิดดีคือมีเมตตารู้จักการให้อภัยพูดดีคือพูดแต่ความจริงไม่โกหกพูดด้วยวาจาที่ถนอมน้ำใจผู้ฟังและทำแต่ความดีคือรู้จักทำบุญให้ทานทำสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอขึ้นชื่อว่าบัณฑิตย่อมเป็นผู้ที่มีจิตใจและปัญญาที่ผ่องใสไม่จำเป็นว่าจะต้องเรียบจบสูงชาวบ้านทั่วไปนี่ก็เป็นบัณฑิตได้ 

 

3. บูชาบุคคลที่ควรบูชา

เป็นบุคคลที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมและความดีให้เราได้ยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตเปรียบเสมือนเข็มทิศส่องนำทางชีวิตของเราให้เดินไปข้างหน้าอย่างถูกต้องบุคคลดังกล่าวอาจจะเป็นคนใกล้ตัวเช่นพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ที่เราให้ความเคารพนับถือหรือพระอริยะสงฆ์ที่ถึงพร้อมด้วยเมตตาธรรมบูรพกษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยทศพิธราชธรรมเป็นต้น

 

4. อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม

หากเปรียบคนเหมือนกับต้นไม้หากปลูกอยู่ในดินที่อุดมสมบูรณ์ย่อมแตกหน่อออกผลได้อย่างรวดเร็วแต่หากปลูกอยู่ในดินที่ไม่ดีไม่ว่าจะบำรุงรักษาเพียงใดก็ยากที่จะเติบโตเป็นต้นไม้ที่แข็งแรงได้ถิ่นที่เหมาะสมคือสถานที่ที่ปลอดภัยอยู่แล้วสบายใจไม่ก่อให้เกิดภัยกับตัวเองทั้งทางกายและทางใจอีกทั้งยังส่งเสริมให้เราเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานคนเราแม้จะเป็นคนดีเพียงใดหากอยู่ในสถานที่ที่ไม่ดีแล้วไม่นานก็จะเริ่มซึมซับความไม่ดีเข้ามาทำให้ความดีที่มีแต่เดิมนั้นหมองลงได้เราจึงควรให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมที่เราอยู่ไม่ว่าจะเป็นบ้านโรงเรียนที่ทำงานชุมชนรอบข้างก็ตาม

 

5. มีบุญวาสนามาก่อน

รู้จักสร้างบุญสะสมบุญไว้เพื่อเป็นเกราะป้องกันภัยให้ชีวิตมีแต่ความราบรื่นเจริญก้าวหน้าและเป็นสุขบุญเป็นสิ่งที่มอบให้กันไม่ได้และไม่มีใครจะมาขโมยจากเราไปได้บุญอาจเปรียบเหมือนกับลมมองไม่เห็นแต่สามารถสัมผัสได้ด้วยใจที่บริสุทธิ์บุญคือสิ่งที่ทำแล้วจิตใจเกิดความสงบความสุขปิติยินดีหากเราอยากที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตนอกจากความพยายามในการประกอบสัมมาอาชีพแล้วก็ต้องหมั่นสะสมบุญความดีเอาไว้เพื่อเป็นเครื่องผลักดันให้เราก้าวหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว

 

6. ตั้งตนชอบ

การตั้งตนชอบเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของความสำเร็จในชีวิตเปรียบเสมือนการหาทิศที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตแล้วใช้ความรู้ความสามารถความเพียรพยายามไปให้ถึงจุดที่เราได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้เมื่อไหร่ที่เริ่มออกนอกลู่นอกทางก็ต้องใช้สติดึงใจกลับมาสิ่งสำคัญคือเป้าหมายนั้นจะต้องเป็นเป้าหมายที่ชอบที่ถูกต้องอยู่ในศีลในธรรมด้วยจึงจะนำมาซึ่งความสุขความเจริญแก่ชีวิตของเรา 

 

7.  เป็นพหูสูต

พหูสูตคือผู้ที่มีความรอบรู้มากเกิดจากการได้รับการศึกษาได้ยินได้ฟังจากผู้รู้ต่างๆมามากจนเกิดความเชี่ยวชาญสามารถนำความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาไปประกอบสัมมาอาชีพที่ส่งเสริมชีวิตของตัวเองให้เจริญก้าวหน้าแต่ต้องเลือกที่จะรู้ในสิ่งที่ควรรู้และหลีกเลี่ยงการรับรู้สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายด้วยจึงจะได้ชื่อว่ามีความรู้คู่คุณธรรม

 

8.  มีศิลปะ

การมีศิลปะคือการฉลาดในการนำความรู้ที่มีออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพคนที่เรียนจบเหมือนกันได้คะแนนพอๆกันก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิตเหมือนกันคนสองคนทำกับข้าวได้เหมือนกันเรียนทำอาหารมาจากที่เดียวกันแต่ทำไมคนนึงจึงทำได้อร่อยกว่าคนที่ต้องการประสบความสำเร็จจึงจำเป็นต้องมีความสามารถในการกลั่นกรองเอาหลักคิดที่รับรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงให้เกิดดอกออกผลด้วยมิฉะนั้นความรู้นั้นก็เป็นเพียงนามธรรมเท่านั้นการจะทำได้ต้องฝึกฝนตนให้เป็นคนช่างสังเกตุรู้จักวิเคราะห์หาเหตุและผลตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่และรู้จักประเมินตัวเองเพื่อปรับปรุงพัฒนางานให้ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

 

9.  มีวินัย

วินัยคือระเบียบปฏิบัติกฎเกณฑ์ที่ใช้ร่วมกันในสังคมเพื่อให้ผู้คนในสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความปกติสุขคนเราถ้าเพียงเก่งหรือฉลาดอย่างเดียวแต่ไร้วินัยก็อาจทำให้สังคมส่วนรวมวุ่นวายได้โดยวินัยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือวินัยทางโลกอันเป็นข้อตกลงร่วมกันของคนในสังคมในการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขเช่นกฎหมายขนบธรรมเนียมประเพณีและวินัยทางธรรมอันเป็นพุทธบัญญัติในพระพุทธศาสนาเช่นศีลห้าศีลแปดของบุคคลทั่วไปหรือศีล 227 ข้อของพระภิกษุสงฆ์

 

10. มีวาจาสุภาษิต

คือการรู้จักไตร่ตรองใคร่ครวญด้วยเหตุและผลก่อนพูดออกไปพูดด้วยถ้อยวาจาที่เหมาะสมถูกกาลเทศะพูดด้วยความสัตย์จริงพูดด้วยจิตเมตตาเป็นต้นให้พึงระลึกไว้เสมอว่าก่อนพูดเราเป็นนายแต่เมื่อพูดไปแล้วคำพูดนั้นจะเป็นนายของเรา 

 

11. บำรุงบิดามารดา

พ่อแม่เปรียบเสมือนพระในบ้านเป็นเทวดาเดินดินที่คอยปกป้องรักษาทะนุถนอมเลี้ยงดูเราตั้งแต่แรกเกิดจนเติบใหญ่เป็นครูคนแรกที่ให้ความรู้แก่เราทั้งทางโลกและอบรมบ่มนิสัยให้เราเจริญในทางธรรมเป็นแบบอย่างให้เราได้เดินตามพระคุณของท่านนั้นมากมายเหลือคณานับเราจึงควรสำนึกในพระคุณของท่านคือระลึกรู้ถึงความรักที่ท่านมีให้ความดีที่ท่านทำและอุปการะเลี้ยงดูท่านเมื่อถึงเวลาที่ท่านต้องการ

 

12.  เลี้ยงดูบุตร

ความรักที่พ่อแม่มีให้กับลูกนั้นเป็นรักที่บริสุทธิ์ไม่ได้ต้องการสิ่งใดตอบแทนหวังเพียงให้ลูกเติบโตเป็นคนดีแต่ลูกจะดีหรือไม่นั้นก็มีส่วนมาจากบุญกรรมที่พ่อแม่ได้ทำไว้เช่นกันหากอยากได้ลูกที่ดีเป็นอภิชาติบุตรก็ควรหมั่นทำความดีสะสมบุญเอาไว้ให้มากลูกที่มาเกิดจึงจะนำพาซึ่งความสุขความเจริญมาแก่พ่อแม่หน้าที่ในการอบรมบุตรนั้นแบ่งเป็นการอบรมทางโลกเช่นการปกป้องคุ้มครองป้องกันไม่ให้ลูกเดินไปในทางที่ผิดเช่นการคบเพื่อนและการอบรมทางธรรมเช่นการพาลูกสวดมนต์เข้าวัดทำกิจกรรมทางพุทธศาสนาอยู่เป็นประจำเพื่อขัดเกลาจิตใจของลูกให้บริสุทธิ์เป็นต้น

 

13.  สงเคราะห์ภรรยา (สามี)

ทั้งสามีและภรรยาล้วนมีหน้าที่ต่อกันต้องช่วยกันประคับประคองชีวิตคู่ให้ไปได้ตลอดรอดฝั่งโดยสามีควรยกย่องให้เกียรติภรรยายกให้ภรรยาได้เป็นใหญ่ในบ้านไม่นอกใจหรือทุบตีด่าทอให้ข้าวของเครื่องใช้ตามโอกาสที่เหมาะสมส่วนภรรยาก็มีหน้าที่ดูแลการงานในบ้านให้เรียบร้อยเลี้ยงดูให้ความรักแก่ลูกมีความซื่อสัตย์ต่อสามีไม่คิดนอกใจและรู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้ไม่ฟุ่มเฟือยเป็นต้น

 

14.  ทำงานไม่คั่งค้าง

งานที่ควรทำให้เสร็จหากปล่อยทิ้งไว้จะเป็นเหมือนชนักติดหลังทำให้เราเดินต่อไปได้ลำบากเหตุที่ทำให้งานไม่เสร็จนั้นมีอยู่หลายประการเช่นการผลัดวันประกันพรุ่งรอโน่นรอนี่ไปเรื่อยการทำงานผิดขั้นตอนส่งผลให้ทำเท่าไหร่ก็ไม่เสร็จและทำงานไม่ถูกเวลางานที่สมควรทำก่อนกลับไม่ทำมัวแต่เสียเวลาทำงานที่ยังไม่สำคัญเป็นต้นการทำงานให้เสร็จผู้ทำงานจำเป็นต้องมีหลักธรรมอิทธิบาท 4 ได้แก่ฉันทะรักในงานที่ทำวิริยะความพากเพียรพยายามจิตตะความเอาใจใส่ในงานนั้นคอยตรวจหาจุดบกพร่องเพื่อแก้ไขอยู่เสมอและวิมังสาคือใช้สมองทำงานด้วยทำงานให้ถูกที่ถูกเวลาถูกขั้นตอน

15.  บำเพ็ญทาน

การให้ทานคือการลดความเห็นแก่ตัวในจิตใจลงทำให้ใจเราเบาสบายและมีความสุขจากการเป็นผู้ให้ยิ่งเป็นการให้ที่ไม่ได้หวังสิ่งตอบแทนแล้วยิ่งทำให้เรามีความสุขทานแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่อามิสทานคือการให้วัตถุสิ่งของเงินทองเป็นทานธรรมทานคือการแบ่งปันธรรมะหลักคิดที่ดีงานแก่ผู้อื่นและอภัยทานคือการลดละอารมณ์โกรธอาฆาตพยาบาทลงมองความผิดพลาดของคนอื่นเป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถให้อภัยกันได้

 

16.  ประพฤติธรรม

การประพฤติธรรมมิใช่เพียงการรักษาศีลให้บริสุทธิ์เท่านั้นแต่ยังรวมถึงการปฏิบัติต่อคนรอบข้างไม่ว่าเค้าเหล่านั้นจะอยู่ในตำแหน่งที่สูงหรือต่ำกว่าเราด้วยจิตใจที่ปราศจากอคติทั้งหลายที่เกิดจากความรักโลภโกรธและหลงภายในใจด้วยเมื่อทำได้ดังนี้แล้วเราก็จะสามารถดำรงตนให้อยู่ในความเป็นธรรมได้ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางใจต่อตัวเองและสังคมรอบข้าง

 

17.  สงเคราะห์ญาติ

นอกเหนือจากพ่อแม่และลูกของเราแล้วญาติคือคนที่อยู่รอบตัวเราที่เราจะได้อาศัยพึ่งพาดังนั้นเมื่อใดที่ญาติเดือดร้อนและขอความช่วยเหลือเราก็ควรจะช่วยตามกำลังความสามารถของตนเพราะเมื่อวันที่เราต้องการเราจะได้ไม่ต้องอยู่สู้กับปัญหาต่างๆอย่างเดียวดายเปรียบเสมือนนกที่บินกันเป็นฝูงช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอกให้แก่กันและกัน

 

18.  ทำงานไม่มีโทษ

คือการเลือกประกอบสัมมาอาชีพที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่นหมั่นพิจารณางานต่างๆว่าทำไปแล้วเกิดประโยชน์หรือโทษมากกว่ากันหากมีโทษมากกว่าก็ขอให้ละเลิกงานนั้นเสียอีกทั้งต้องมีความซื่อสัตย์ต่องานที่ทำต่อลูกค้าและสังคมไม่หวังแต่ผลกำไรเป็นที่ตั้งสถานเดียวเช่นหากเปิดร้านอาหารก็ควรคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพปราศจากสารปนเปื้อนต่างๆและตั้งใจปรุงให้สุดฝีมือ

 

19.  งดเว้นบาป

บาปคือสิ่งที่ทำแล้วส่งผลให้จิตใจร้อนรนวิตกหวาดกลัวหวาดระแวงใช้ชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุขหากจิตใจของเราวนเวียนอยู่กับสิ่งที่เป็นบาปเหล่านี้จะทำให้เราไม่มีแรงกายและพลังใจมากเพียงพอที่จะต่อสู้สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ชีวิตได้ดังนั้นก่อนที่คิดจะสร้างความเจริญให้กับชีวิตเราจึงต้องเริ่มต้นจากการละเว้นการทำบาปเสียก่อน

 

20.  สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

เหล้าเบียร์หรือสิ่งเสพย์ติดทั้งหลายมีฤทธิ์ทำให้มัวเมาขาดสตินำมาแต่ความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นเหล้าอาจจะทำให้เคลิบเคลิ้มมีความสุขได้ก็เพียงชั่วครู่เหมือนเป็นการหลอกตัวเองมอมเมาตัวเองไปวันๆอีกทั้งยังเป็นเครื่องบั่นทอนทุกอย่างในชีวิตให้ด้อยค่าลงไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินสุขภาพและสติปัญญาเราจึงควรลดละเลิกสิ่งไม่ดีเหล่านี้ไม่สร้างบรรยากาศที่ชวนให้อยากดื่มและหลีกหนีให้ห่างจากคนรอบข้างที่ชอบดื่มด้วย

 

21.  ไม่ประมาทในธรรม

คือการมีสติในการใช้ชีวิตใช้สติคอยไตร่ตรองความผิดชอบชั่วดีไม่ปล่อยให้จิตใจหลงลอยเพลิดเพลินไปกับการกระทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมต่างๆคอยระวังตัวเองไม่ให้หลงทำกรรมที่ไม่ดีซึ่งจะนำมาแต่ความเดือดร้อนแก่ตัวเองในภายหลังคนที่มีสติดีเปรียบเหมือนบ้านที่มีเสาหลักที่มั่นคงแม้พายุลมแรงพัดกระหน่ำก็ไม่พังลงมาโดยง่ายการเจริญสติให้อยู่กับปัจจุบันขณะจึงมีความสำคัญมากในชีวิตประจำวัน

 

22.  มีความเคารพ

คือการมองให้เห็นคุณความดีที่มีอยู่ในตัวบุคคลอื่นด้วยใจที่เป็นธรรมปราศจากอคติต่างๆและแสดงออกต่อผู้ที่ควรเคารพนั้นด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนทั้งทางกายวาจาและใจเมื่อพิจารณาเห็นความดีเหล่านั้นแล้วจะเป็นการเปิดโอกาสตัวเองให้น้อมนำความดีเหล่านั้นเข้ามาสู่ตัวมาเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตเป็นการพัฒนายกระดับจิตใจให้สูงขึ้นไป

 

23.  มีความถ่อมตน

เป็นการขจัดความยโสถือตัวทะนงตัวอวดรู้ในส่ิงสมมติทั้งหลายที่เรามีเราเป็นอยู่ไม่ว่าจะเป็นลาภยศคำสรรเสริญชาติตระกูลรูปร่างหน้าตาเพื่อเปิดรับโอกาสในการพัฒนาตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้สูงขึ้นอีกทั้งยังช่วยให้คนอื่นรู้สึกเคารพในตัวเราได้อย่างสนิทใจการทำตัวให้เป็นแก้วที่มีน้ำอยู่เพียงครึ่งแก้วพร้อมเปิดรับความรู้และโอกาสต่างๆที่ผ่านเข้ามาย่อมดีกว่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้วที่สุดท้ายก็มีแต่ล้นออกไปสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่คนรอบข้าง

 

24.  มีความสันโดษ

คนที่มีความสันโดษมักเป็นคนที่มีความสุขเนื่องจากมีความพอใจในสถานะของตัวเองแม้จะฐานะไม่ค่อยดีหากมีความสันโดษก็จะมีความสุขได้ไม่ยากตรงกันข้ามคนที่มีเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักพอก็จะลุ่มหลงมัวเมากับการแสวงหาทรัพย์สินข้าวของเครื่องใช้ต่างๆไม่มีที่สิ้นสุดการสันโดษนี้ไม่ได้หมายความถึงให้เกียจคร้านการงานเพียงแต่ให้รู้สึกยินดีและพอใจในสิ่งที่ได้มาความยินดีนั้นจะเป็นพลังบวกส่งเสริมให้เราทำสิ่งต่างๆให้ดียิ่งขึ้น

 

25.  มีความกตัญญู

คือการระลึกถึงบุญคุณที่ผู้อื่นได้กระทำกับตนไม่ว่าจะเป็นคนสัตว์สิ่งของหรือแม้แต่ตัวเองความกตัญญูที่เห็นได้ชัดที่สุดคือความกตัญญูต่อคุณของบิดามารดูที่เฝ้าถนอมเลี้ยงดูอบรมเรามาตั้งแต่วัยเด็กจนเติบใหญ่เป็นผู้เป็นคนที่สมบูรณ์ได้ความกตัญญูยังเสมือนเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจไม่ให้เราหลงผิดคิดชั่วอีกด้วยเช่นเมื่อเพื่อนมาชวนไปขโมยของแม้เราจะอยากได้เพียงใดก็ตามเมื่อได้นึกถึงพระคุณของพ่อแม่ก็จะทำให้เราต่อสู้กับกิเลสที่ไม่ดีเหล่านั้นได้

 

26.  ฟังธรรมตามกาล

รู้จักหาเวลาเข้าวัดฟังธรรมหรือศึกษาธรรมะตามโอกาสที่เหมาะสมบ้างเพื่อช่วยยกระดับของจิตใจให้สูงขึ้นเมื่อฟังธรรมแล้วก็ควรทำความเข้าใจถึงความหมายเหตุและผลของธรรมข้อนั้นๆด้วยเพื่อจะได้น้อมนำมาพิจารณาตัวเองว่าเราทำได้อย่างที่ธรรมว่าไหมจุดไหนที่ยังบกพร่องก็หาวิธีแก้ไขจุดไหนที่ดีแล้วก็หาทางทำให้ดียิ่งขึ้นจะได้ประโยชน์จากการฟังธรรมอย่างแท้จริงไม่ใช่ฟังแบบเข้าหูซ้ายทะลุออกหูขวาเท่านั้น

 

27.  มีความอดทน

คือการตั้งมั่นหนักแน่นไม่หวั่นไหวต่อสิ่งกระทบทั้งภายนอกและภายในใจไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราชอบหรือไม่ชอบก็ตามซึ่งความอดทนนี้เป็นคุณธรรมพื้นฐานที่เราต้องมีเพื่อให้สามารถเจริญในธรรมขั้นสูงต่อไปได้หากปราศจากความอดทนแล้วไม่ว่าจะเป็นงานเล็กหรือใหญ่ก็ยากที่จะประสบผลสำเร็จได้

 

28.  เป็นคนว่าง่าย

คือการที่เรายอมเปิดใจรับฟังคำสั่งสอนคำแนะนำหรือแม้แต่คำตักเตือนจากผู้รู้ทั้งหลายแล้วนำมาปรับปรุงตัวเองให้ดียิ่งขึ้นบางคนเป็นประเภทใครสอนไม่ได้จะต่อต้านโต้แย้งตลอดคือเป็นคนที่ไม่ยอมคนคนแบบนี้จะเจริญได้ยากเพราะมัวแต่ติดยึดอยู่กับตัวเองไม่เปิดโอกาสรับฟังสิ่งดีๆที่คนรอบข้างหยิบยื่นมาให้ 

 

29.  เห็นสมณะ

ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นสมณะคือผู้ที่เจริญศีลสมาธิภาวนาจนเกิดความสงบทั้งทางกายวาจาและใจก่อให้เกิดความสุขที่แท้จริงจากภายในใจเราต้องมองหาแบบอย่างที่ดีงามจากสมณะทั้งหลายพยายามทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการฝึกฝนตนเองอย่างสม่ำเสมอ

 

30.  สนทนาธรรมตามกาล

เป็นเหมือนทางลัดในการศึกษาธรรมโดยการพูดคุยสอบถามแลกเปลี่ยนและรับฟังหลักธรรมต่างๆที่เรียนรู้มากับกัลยาณมิตรเพื่อให้ความรู้แตกฉานเกิดปัญญาที่ผ่องใสสามารถใช้แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตได้การจะสนทนาธรรมให้สำเร็จนั้นเราเองจะต้องเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟังที่ดีด้วยคือพูดตามหลักความจริงด้วยจิตเมตตาและถูกกาลเทศะเมื่อถึงคราวรับฟังก็ต้องรู้จักเปิดใจมีความอ่อนน้อมอดทนและพิจารณาสิ่งที่ได้ฟังไปด้วย

 

31.  บำเพ็ญตบะ

ตบะคือการบำเพ็ญเพียรเพื่อเผากิเลสในใจให้เบาบางลงจนกระทั่งหมดไปแต่ก่อนที่เราจะกำจัดกิเลสได้เราต้องมองให้เห็นกิเลสเสียก่อนกิเลสเกิดขึ้นภายในใจตลอดเวลาบางครั้งเราเองอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำเมื่อฝึกจนมองเห็นแล้วก็ต้องหาวิธีเข้ามาข่มเช่นเมื่อเกิดความโลภก็ต้องแก้ด้วยการให้ทานหรือรู้สึกอาฆาตพยาบาทใครก็ต้องแก้ด้วยการแผ่เมตตาเป็นต้น

 

32.  ประพฤติพรหมจรรย์

หมายถึงการประพฤติตนในแนวทางที่ประเสริฐโดยเริ่มจากการศึกษาพระธรรมเจริญสติในชีวิตประจำวันจนมีความเข้าใจธรรมชาติของโลกอย่างถูกต้องมีดวงตาที่มองเห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงมองเห็นกิเลสว่าเป็นของร้อนรู้จักวิธีกำจัดกิเลสทั้งหลายทั้งปวงไม่ให้กลับมาทำร้ายใจอีก

 

33.  เห็นอริยสัจ

คือการมองเห็นความจริงอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้คืออริยสัจจ์ 4 ได้แก่ทุกข์ความไม่สบายกายใจต่างๆสมุทัยสาเหตุของทุกข์นิโรธความดับทุกข์และมรรควิธีปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ในโลกนี้ไม่มีใครที่ไม่เคยเป็นทุกข์แต่จะมีซักกี่คนที่มองเห็นตามความเป็นจริงจนกระทั่งสามารถดับทุกข์เหล่านั้นลงได้ต้องอาศัยปัญญาที่เกิดจากการเจริญสติทำสมาธิเพื่อมองหาต้นเหตุของทุกข์ให้ออกเช่นทุกข์แท้จริงแล้วเกิดจากตัณหาในใจจะได้แก้ได้ถูกจุดเป็นต้น

 

34.  ทำพระนิพพานให้แจ้ง

นิพพานคือการหมดแล้วซึ่งกิเลสและทุกข์ทั้งปวงเป็นสภาวธรรมที่อยู่เหนือกฎของไตรลักษณ์คือไม่มีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดการจะเข้าถึงพระนิพพานได้จำเป็นจะต้องปฏิบัติธรรมและเจริญสมาธิภาวนาจนถึงขั้นสูงสุดผู้ที่มีจิตปรารถนาในพระนิพพานอย่างมั่นคงและมีความอดทนในการปฏิบัติตามหลักที่ถูกต้องย่อมถึงพระนิพพานได้ในที่สุด

 

35.  จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม

โลกธรรมคือสิ่งที่เป็นธรรมดาของโลกคือมีลาภเสื่อมลาภมียศเสื่อมยศสรรเสริญนินทามีความสุขก็มีความทุกข์ปะปนกันไปจิตที่ถูกฝึกมาดีแล้วคือรู้ว่าทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนมีเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปเป็นของธรรมดาก็จะมีสติไม่หวั่นหวาดกลัวหรือไหวไปตามอารมณ์ที่พึงปรารถนาทั้งหลายเมื่อเราได้ปฎิบัติจนถึงที่สุดแล้วก็จะถึงจุดหมายคือพระนิพพานตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายได้ทำสำเร็จมาแล้วนั่นเอง

 

36.  จิตไม่โศก

ต้นเหตุหลักของจิตโศกคือความรักไม่ว่าจะเป็นรักคนรักสัตว์หรือรักสิ่งของเมื่อจิตของเราเผลอเข้าไปติดกับความรักแล้วเมื่อนั้นความโศกเศร้าก็จะตามมาไม่ช้าก็เร็วในฐานะของปุถุชนคนธรรมดาเราคงจะเลี่ยงหรือหลีกหนีจากความรักไปไม่ได้แต่เราสามารถรู้เท่าทันได้โดยอาศัยกฎไตรลักษณ์ว่าทุกสิ่งในโลกล้วนมีเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปและใช้ปัญญาพิจาณาความไม่เที่ยงของสิ่งทั้งหลายก็จะทำให้เราคลายออกจากความรักได้ไม่มากก็น้อย

 

37.  จิตปราศจากธุลี

ธุลีคือสิ่งที่ทำให้แปดเปื้อนเศร้าหมองอันได้แก่กิเลสต่างๆได้แก่ความโลภความโกรธและความหลงจิตที่ปราศจากธุลีจึงเป็นจิตที่กำจัดหมดสิ้นแล้วซึ่งกิเลสทั้งหลายทั้งปวงมีแต่ความอิ่มเอิบผ่องใสเหมาะกับการเจริญสติและปฏิบัติธรรม 

 

38.  จิตเกษม

คือสภาวะของจิตที่เป็นอิสระอย่างแท้จริงมีใจที่สะอาดผ่องใสบริสุทธิ์ไม่มีแม้ธุลีของกิเลสให้แปดเปื้อนหลุดพ้นแล้วจากการเวียนว่ายตายเกิดและพันธนาการทั้งปวงสามารถดำรงจิตให้อยู่ในพระนิพพานได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์สาวกทั้งหลาย

 

เมื่อเราได้ปฏิบัติตามหลักมงคลชีวิตทั้ง 38 ประการนี้อย่างถูกต้องแล้ว

เชื่อว่าจะนำมาซึ่งผลลัพธ์อันยิ่งใหญ่ 4 ประการ คือจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม จิตไม่โศก จิตปราศจากธุลี และจิตเกษมนั่นเอง

 

บทความนี้มีอยู่ในหนังสือ

มงคลแห่งชีวิต (รหัส 9009)

สนใจพิมพ์เผยแผ่เป็นธรรมทาน คลิก

Visitors: 230,952